021

        วันที่ 15 มีนาคม 2565 เวลา 14.00น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์เฝ้าระวังโรคลัมปีสกินในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง พร้อมด้วยนายไพบูลย์ ศุภบุญ นายอำเภอวิเศษชัยชาญ น.สพ.ประภาส ภิญโญชีพ ปศุสัตว์เขต 1 ปศุสัตว์จังหวัดอ่างทองและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้
        อธิบดีกรมปศุสัตว์ตรวจติดตามสถานการณ์เฝ้าระวังและควบคุมโรคลัมปี สกิน ในพื้นที่จังหวัดอ่างทองมีเกษตรกรผู้เลี้ยงโค -กระบือ จำนวน 1,601 ราย จำนวนโครวม 12,708 ตัว กระบือรวม 793 ตัว จำนวนเกษตรกรที่พบโคป่วยด้วยโรคลัมปี สกิน ในจังหวัดอ่างทอง มีจำนวนทั้งหมด 218 ราย จำนวนโคที่ป่วยโรคลัมปี สกินสะสม จำนวน 550 ตัว พบสัตว์ป่วยที่แรกที่ อำเภอสามโก้ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 และได้พบสัตว์ตายตัวแรก วันที่ 4 มิถุนายน 2564 ที่อำเภอสามโก้ มีจำนวนสัตว์ที่เสียชีวิตจากโรคลัมปี สกินทั้งหมดจำนวน 122 ตัว ปัจจุบัน ณ วันที่ 15 มีนาคม 2565 ไม่พบการเกิดโรคลัมปี สกิน ภายในจังหวัดอ่างทองแล้วสำหรับจังหวัดอ่างทองมีการรณรงค์ฉีดวัคนป้องกันโรคลัมปี สกิน ให้แก้โค-กระบือในระหว่างเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2564 โดยได้ดำเนินการฉีดวัคซีนฯให้กับโค-กระบือในพื้นที่ 7 อำเภอของจังหวัดอ่างทอง โดยผลการดำเนินการตามแผนเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคลัมปี สกิน ของจังหวัดอ่างทอง ได้รับวัคซีนฯมาทั้งสิ้น 6,960 โด้ส ดำเนินการฉีดโคเนื้อ และกระบือได้รวม 6,941 ตัว สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอ่างทอง ได้ ประกาศเป็นเขตโรคระบาดด้วยโรคลัมปี สกินเมื่อวันที่19
พฤษภาคม 2564 จำนวนเกษตรกรที่มีโคตาย และได้รับการช่วยเหลือ จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีทั้งหมดจำนวน 93 ราย จำนวนโค 114 ตัว ซึ่งเป็นจำนวนเงินทั้งหมด 2,070,500 บาท และได้ทำการชดเชยไปแล้วจำนวนเกษตรกร 62 ราย จำนวนโค 81 ตัว ซึ่งเป็นเงิน จำนวน 462,500 บาท และยังคงเหลือที่ยังไม่ได้ค่าชดเชย เกษตรกรทั้งหมด 31 ราย จำนวนโค 33 ตัว และจำนวนเงิน จำนวน 1,608,000 บาท ซึ่งให้การช่วยเหลือเกษตรกรตามหลักเกณฑ์ของกรมปศสัตว์
       ด้านอธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้อมูลสัตว์ป่วยรายวันพบว่าลดเหลือจำนวนน้อยมาก และกรมปศุสัตว์คาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะสามารถขอคืนสถานะปลอดโรคลัมปี สกิน ได้ในไม่ช้าเนื่องจากยังไม่มีการรายงานอุบัติการเกิดโรคเพิ่มขึ้นแต่อย่างใดสำหรับแนวทางในการพัฒนาวัคซีนลัมปีสกินโดยได้มอบหมายให้สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์และสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตวัคซีนโรคลัมปีสกิน สำหรับใช้ป้องกันและควบคุมโรคกรณีฉุกเฉิน โดย สทช. ได้ทำการศึกษาการผลิตวัคซีนในระดับห้องปฏิบัติการ (Lab scale) ด้วยไวรัสที่แยกได้จากตัวอย่างสัตว์ป่วยในประเทศไทย และใช้เทคโนโลยีการผลิตไวรัสจากเชลล์เพาะเลี้ยงเพื่อให้มีปริมาณวัคซีนเพียงพอต่อความต้องการใช้เพื่อการควบคุมและป้องกันสทช. ได้ศึกษาความเป็นไปได้เพื่อขยายกำลังการผลิตแอนติเจนไวรัสด้วยเทคโนโลยีสำหรับการเพาะเลี้ยงเซลล์ชนิดเกาะผิว (adherent cell) ได้แก่ ในรูปแบบ Large scale Roller technology และ Microcarrier technology ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีกำลังการผลิตเป็นวัคนสำเร็จรูปมากถึง 500,000โด๊ส ต่อเดือน และช่วยลดรายจ่ายการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศ ลดการป่วยตายและความสูญเสียโค กระบือของซึ่งเป็นผลกระทบที่เดือดร้องของเกษตร อีกทั้งเป็นความมั่นคงด้านวัคซีนสัตว์ของประเทศต่อไป
      นอกจากนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์มีความห่วงใยเกษตรกร โดยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณามาตรการช่วยเหลือ เยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานราชการ พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เข้าใจถึงโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin Disease) ในโค กระบือ เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก พร้อมกับเข้าใจถึงแนวทางการรับมือ ควบคุมและป้องกันโรคอย่างถูกต้องและขอให้พี่น้องเกษตรกรหมั่นดูแลสุขภาพของโค-กระบือ ให้มีสุขภาพแข็งแรง หากพบสัตว์มีอาการผิดปกติ สงสัยว่าป่วยให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัด หรือปศุสัตว์อำเภอในท้องที่ หรือโทรศัพท์สายด่วน 06-3225-6888 หรือทางแอพพลิเคชั่น DLD4.0 เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าดำเนินการให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
ณ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง